ข้อมูลเกียวกับออสเตรเลี่ยน แคทเทล ด็อกและลักษณะนิสัย 

 

ออสเตรเลี่ยน แคทเทล ด็อก เป็นสุนัขที่ฉลาด ตื่นตัว มีความจงรักภักดีต่อเจ้าของมาก ไม่ค่อยเป็นมิตรกับคนแปลกหน้า สายพันธุ์นี้มีพลังงานมาก จึงไม่เหมาะกับการเลี้ยงในอพาร์เม้นต์ 

 

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับออสเตรเลี่ยน แคทเทล ด็อก
The Australian Cattle Dog Breed

ออสเตรเลี่ยน แคทเทล ด็อกจะแข็งแรงมีความสุขมากหากมีอะไรให้พวกเขาทำ และมีแนวโน้มจะทำลายข้าวของหากว่ารู้สึกเบื่อ

ขนาด:

น้ำหนัก:

เพศผู้: 35 - 45 ปอนด์
เพศเมีย: 35 - 45 ปอนด์

ส่วนสูง: 

เพศผู้: 19 นิ้ว

เพศเมีย: 18 นิ้ว

ลักษณะเด่น:

หูตั้ง (โดยธรรมชาติ)

ความคาดหวัง: 

การออกกำลังกาย: > 40 นาที/วัน
ระดับพลังงาน: กระตือรือร้นมาก
อายุขัยเฉลี่ย: 10 -13 ปี
น้ำลายสอ: ต่ำ การกรน: ต่ำ
การเห่า: ต่ำ 
การขุด: ต่ำ ความต้องการการเอาใจใส่: ปานกลาง

การผสมพันธุ์:

สุนัขต้อนปศุสัตว์ (Cattle hearding), สุนัขนำทางสัตว์ (herding trials)

ขน:

ความยาว: สั้น
ลักษณะ: สองชั้น ตรง
สี: น้ำเงิน หรือ น้ำเงินลายจุด โดยอาจจะมีหรือไม่มีลายอื่นแซม แดงลายกระดำกระด่าง
การดูแลรักษาความสะอาด: ปานกลาง

การขึ้นทะเบียนของสมาคม:

การจัดกลุ่มตาม American Kennel Club (AKC): สุนัขต้อนปศุสัตว์ (Herding)
การจัดกลุ่มตาม United Kennel Club (UKC): สุนัขเต้อนปศุสัตว์ (Herding Dog)
อัตราการพบ: ธรรมดา

ออสเตรเลี่ยน แคทเทิล ด็อก แข็งแรง กระทัดรัด และมั่นคง

มีศรีษะที่แข็งแรง คล่อนข้างโค้ง กระโหลกศรีษะกว้างอันเป็นลักษณะของดินโกสายพัน์ธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของพวกเขา แก้มเป็นกล้ามเนื้อ ในขณะที่ปากและกรามมีพลังมาก มีใบหูขนาดกลางชันขึ้น ฟันแข็งแรงเป็นประกาย ทำให้ดูน่าเกรงขาม

คอของแคทเทิล ด็อกเป็นกล้ามเนื้อและหนา ไหล่กว้าง อกลึก หางต่ำและห้อยอยู่ในระดับเดียวกับข้อเท้า ความสูงจนถึงหัวไหล่อยู่ที่ 17 - 20 นิ้ว ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย

ขนสองชั้นประกอบด้วยขนชั้นนอกยาวปานกลาง ตรง ลักษระเหมือนผมที่ปกคลุมขนชั้นล่างที่สั้นและหนา แคทเทิล ด็อกมีสองสีต่างกันคือ สีแดงจุดและสีฟ้า โดยที่สีฟ้าเรามักจะรู้จักอีกชื่อว่า บลู ฮีลเลอร์ (Blue heelers) อาจจะมีได้ทั้งแบบฟ้าล้วนหรือฟ้ารายจุด พร้อมอาจมีลายสีดำ ฟ้า หรือสีแทนบริเวณศรีษะ ในขณะที่ใต้ขนมักเป็นสีแทน ส่วนสีแดงอาจมีได้ตั้งแต่แดงลายจุด (จากยีนส์ของดาล์เมเชียน) โดยที่อาจจะมีหรือไม่มีลายสีเข้มบนศรีษะก็ได้

ลักษณะนิสัย: 

อันเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่เพราะขึ้นเพื่อการใช้งาน ออสเตรเลี่ยน แคทเทิล ด็อก จึงเป็นสุนัขที่ตื่นตัว ฉลาด เฝ้าระวังและกล้าหาญ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูงจึงสามารถเชื่อถือและไว้วางใจได้  สายพันธุ์นี้มีความจงรักภักดีต่อเจ้าของและไม่ค่อยเป็นมิตรกับคนแปลกหน้า จึงทำให้หากเลี้ยงเพื่อการเฝ้าระวังเขาอาจจะดุ แม้ว่าจะไม่ค่อยเห่าก็ตาม ออสเตรเลี่ยน แคทเทิล ด็อกมีแนวโน้มที่จะก้าวร้าวต่อสุนัขตัวอื่น และอาจจะแสดงความเป็นเจ้าถิ่นและมีพฤติกรรมที่งับเด็กๆ ได้

อาศัยกับ: 

สุนัขพันธุ์นี้มีพลังงานมากจึงต้องการการออกกำลังกายในปริมาณที่มากเพียงพอ จึงไม่เหมาะกับการเลี้ยงในอพาร์เม้นต์ พวกเขาจะแข็งแรงมีความสุขมากหากมีอะไรให้พวกเขาทำ และมีแนวโน้มจะทำลายข้าวของหากว่ารู้สึกเบื่อ

ออสเตรเลี่ยน แคทเทิล ด็อก สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพภูมิอากาศ และผลัดขนปีละ หนึ่ง หรือสองครั้ง ทั้งนี้ แนะนำให้แปรงขนทุกสัปดาห์เพื่อให้ขนมีสุขภาพแข็งแรง

ประวัติ: 

การพัฒนาสายพันธุ์ออสเตรเลี่ยน แคทเทิล ด็อก ถือว่าเป็นความท้าทายที่แท้จริง สายพันธุ์ที่เราเห็นในปัจจุบันนี้การเกิดจากผลการทดลองหลายต่อหลายครั้งเพื่อที่จะพัฒนาสายพันธุ์สุนัขอุดมคติเพื่อใช้ในการต้อนฝูงวัวในประเทศออสเตรเลีย ความต้องการสุนัขที่เหมาะสมสำหรับการต้อนฝูงเพิ่มสูงขึ้นตอนต้นศตวรรรษที่ 1800   เมื่อผู้อพยพตั้งถิ่นฐานได้ขยายจากซีดนีย์ไปยังด้านตะวันตกซึ่งเป็นทุ่งหญ้ากว้างที่มีพื้นที่กว้างเป็นร้อยหรืออาจจะเป็นพันตารางเมตรโดยที่ไม่มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งสำหรับสุนัขต้อนฝูงสัตว์ของอังกฤษที่ใช้ในขณะนั้นแล้ว อุณหภูมิที่สูง และสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก และระยะทางในการต้อนที่ยาวไกลอาจจะยากเกินไปที่จะจัดการ บวกกับอุปนิสัยที่ชอบเห่าและต้อนซึ่งเหมาะสำหรับฝูงปศุสัตว์หรือฝูงแกะที่เงียบเรียบร้อยมากกว่า อาจจะทำให้ฝูงวัวป่าแตกตื่นได้

ด้วยคุณสมบัติที่กระตือรือล้นมาก พร้อมทั้งต้องแก้ไขข้อบกพร่องอื่นๆ ซึ่งในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์ ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างคอลลี่ไฮแลนด์ขนยาวสีเทาอมฟ้าซึ่งนำเข้ามาจากสก็อตแลนด์ กับสุนัยสายพันธุ์พื้นเมืองดิงโก เพื่อที่จะให้ได้สุนัขทำงานที่ไม่เห่า หรือทีที่เรารู้จักว่า ฮอลส์ ฮิลเลอร์ส (Hall's Heelers) ซึงฮิลเลอร์สเหล่านี้ได้ผสมพันธุ์กับดาร์เมเชี่ยน (Dalmatians) ที่นำเข้าเพื่อให้คงคุณสมบัติของการรักม้าและความจงรักภักดีต่อเจ้านาย ซึ่งสายพันธุ์บากัสท์ที่ได้นี้ (จากพี่น้องแจ๊คและเฮนรี่ บากัสท์) ได้ผสมพันธุ์กับ คัลปี้ส์ (Kelpies) สีดำและแทน เพื่อให้ได้คุณสมบัติความอดทนในการทำงาน ผลจึงปรากฎออกมาเป็นสุนัขขนาดกระทัดรัด เหมือนกับลักษณะที่มีในสายพันธุ์ดินโก (Dingo)  แต่ขนหนา ทั้งสีฟ้าและสีแดงที่เป็นที่นิยมอย่างมาก 

พวกเขามีความอดทนในการทำงาน ต้อนฝูงสัตว์แบบเงียบและเชื่อฟังคำสั่งและอุทิศตนให้กับเจ้าของเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้เป็นที่เป้นที่ต้องการของเจ้าของที่ดินและผู้ดูแลปศุสัตว์ ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 1800  สายพันธุนี้ (ซึ่งในช่วงแรกเป็นที่รู้จักในนามของออสเตรเลี่ยน ฮิลเลอร์ (Australian heeler และต่อมาภายหลังกลายเป็น ออสเตรเลี่ยน แคทเทิล ด็อก) ได้รับการขึ้นทะเบียนและวางมาตรฐานนอย่างกว้างขวางในประเทศออสเตรเลีย และได้รับการจดทะเบียนกับ American Kennel Club (AKC) ในปีค.ศ. 1980

เกี่ยวกับบทความการดูแลสัตว์เลี้ยง