โรคเบาหวานในแมว: สาเหตุ สัญญาณ และการรักษา
โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อแมวของคุณไม่สามารถใช้น้ำตาล (กลูโคส) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อินซูลินซึ่งผลิตมาจากตับอ่อน มีความจำเป็นต่อการควบคุมการใช้และกักเก็บน้ำตาลในเลือด การผลิตอินซูลินไม่เพียงพออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
โรคเบาหวานมีอยู่สองประเภท แม้ยังไม่มีวิธีรักษา แต่เราก็สามารถควบคุมโรคเบาหวานทั้งสองประเภทในแมวที่ป่วยอย่างได้ผลด้วยโภชนาการ การออกกำลังกาย และการให้อินซูลินอย่างสม่ำเสมอ หากจำเป็น แมวของคุณที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและกระฉับกระเฉงได้ หากได้กินอาหารแมวที่ถูกต้อง พร้อมคำแนะนำจากสัตวแพทย์ของคุณ
สาเหตุของโรคเบาหวานคืออะไร
ตับอ่อนที่ไม่แข็งแรงมักเป็นสาเหตุให้เกิดการผลิตอินซูลินลดลง ตับอ่อนมีหน้าที่ผลิตอินซูลินในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากตับอ่อนของแมวเกิดความเสียหาย อาจก่อให้เกิดโรคในระยะยาวและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา สำหรับแมวบางตัว การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือการกินยา จะลดประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน ปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคเบาหวานในแมวของคุณ มีดังนี้
สภาพร่างกาย: แมวที่มีน้ำหนักมากมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดโรคเบาหวานสูงกว่าปกติ แมวที่อ้วนเกินไปจะมีความเสี่ยงสูงมาก
อายุ: แมวสามารถเกิดโรคเบาหวานได้ในทุกช่วงอายุ แต่โอกาสเกิดสูงสุดจะอยู่ที่ช่วงอายุ 8 ปี
เพศ: โรคเบาหวานในแมวมักเกิดกับแมวเพศผู้มากกว่า
สายพันธุ์: แมวเบอร์มีสจะมีความเสี่ยงสูงกว่าแมวสายพันธุ์อื่น
ปัจจัยอื่น: โภชนาการที่ไม่ดี ความผิดปกติของฮอร์โมน ความเครียด
แมวของฉันเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
เป็นการยากที่จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณของโรคเบาหวาน เพราะอาการเหล่านั้นจะดูคล้ายกับโรคอื่นๆ อย่างเช่น โรคไตเรื้อรัง และภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หากคุณสังเกตพบอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ แสดงว่าแมวของคุณอาจเป็นโรคเบาหวาน
สัญญาณและอาการของโรคเบาหวาน
- กระหายน้ำบ่อยขึ้น
- น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
- ทานอาหารไม่ลง
- ดูเหนื่อย หมดเรี่ยวแรง
- อาเจียน
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
* หมายเหตุ หากอุจจาระของแมวมีการ “เกาะกลุ่มเป็นก้อน” ในกระบะทราย จำเป็นต้องเปลี่ยนทรายให้บ่อยขึ้น
หากแมวของคุณดูไม่ค่อยแข็งแรงหรือกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดลงอย่างเร็ว ดูซึมเศร้า หรือมีอาการเจ็บปวดช่วงท้อง เจ้าเหมียวอาจจะเป็นโรคเบาหวาน
ข้อสำคัญ: เมื่อได้วินิจฉัยพบโรคเบาหวานแล้ว แมวของคุณควรต้องได้รับการเฝ้าสังเกตอาการอย่างสม่ำเสมอ สัตวแพทย์จะตรวจระดับกลูโคสในแมวของคุณ และจะปรับการให้ยาเพื่อให้แมวของคุณมีอาการคงที่
สร้างกิจวัตรประจำวัน: สิ่งสำคัญในการดูแลแมวที่เป็นโรคเบาหวานให้แข็งแรงก็คือ กิจวัตรประจำวัน การให้อาหาร การออกกำลังกาย และการให้ยาแก่แมว (ถ้าจำเป็น) ควรให้เป็นเวลาเดียวกันในทุกๆ วัน วิธีนี้จะช่วยรักษาระดับกลูโคสในเลือดของสุนัขให้คงที่ สัตวแพทย์จะให้คำแนะนำกับคุณในเรื่องเหล่านี้
แม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาโรคเบาหวาน แต่สัตวแพทย์ต่างก็ทราบว่าสามารถควบคุมได้ด้วยอินซูลิน การออกกำลังกาย และโภชนาการที่เหมาะสม เส้นใยอาหารเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการดูแลโรคนี้ เพราะว่าระดับของเส้นใยอาหารปานกลางถึงสูง จะช่วยลดความต้องการอินซูลิน และลดระดับกลูโคสในเลือด และเส้นใยอาหารยังทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้มากขึ้นอีกด้วย
การดูแลรักษาโรคเบาหวาน: ความสำคัญของโภชนาการ
การไม่เปลี่ยนอาหารแมวบ่อยเกินไป เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน อาหารที่แมวของคุณทานมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในภาพรวมของเขา โภชนาการที่สมดุลมีส่วนสำคัญต่อการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีและกระฉับกระเฉง เมื่อแมวของคุณเป็นโรคเบาหวาน การให้อาหารแมวที่ถูกต้องเหมาะสมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
การให้อาหารแมวที่มีรูปแบบโภชนาการที่เกี่ยวข้องตามที่สัตวแพทย์แนะนำ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างในการให้อาหารแต่ละครั้ง จะช่วยให้ระดับการเผาผลาญในแมวของคุณคงที่ และทำให้แมวมีสุขภาพแข็งแรง
สำหรับการวินิจฉัยที่แม่นยำและตัวเลือกการดูแลรักษา ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ และขอให้สัตวแพทย์แนะนำอาหารที่เหมาะที่สุดสำหรับแมวที่เป็นโรคเบาหวาน
คำถามสำหรับถามสัตวแพทย์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
1. ตัวเลือกการดูแลรักษาโรคเบาหวานในแมวของฉันมีอะไรบ้าง
o ถามว่าสามารถใช้วิธีรักษาด้วยโภชนาการร่วมกับตัวเลือกที่มีอยู่อื่นๆ ได้อย่างไร
2. โภชนาการมีส่วนในการรักษาแมวของฉันหรือไม่ คุณจะแนะนำอาหารแมว Hill’s® Prescription Diet® เพื่อสุขภาพและการดูแลรักษาโรคเบาหวานในแมวของฉันหรือไม่
o ถ้าฉันเลี้ยงแมวหลายตัวล่ะ ฉันสามารถให้แมวทุกตัวกินอาหารแมวแบบเดียวกันได้หรือไม่
o โภชนาการช่วยได้อย่างไร อะไรคือประโยชน์ของการให้โภชนบำบัดเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาร่วมด้วยการให้ยาแบบเม็ดหรือแบบฉีด และ
o อะไรคือข้อดีและข้อเสียของการใช้โภชนาการช่วยดูแลโรคเบาหวานในแมวของฉัน
3. ฉันควรให้แมวของฉันกินอาหารตามที่คุณหมอแนะนำนานแค่ไหน
4. หากฉันมีคำถาม ฉันจะติดต่อคุณหมอหรือโรงพยาบาลด้วยวิธีไหนดีที่สุด (อีเมล/โทรศัพท์)
o ถามว่าคุณจำเป็นต้องทำการนัดหมายเพื่อติดตามผลหรือไม่
ถามว่าจะมีการส่งอีเมลเตือนความจำหรือหนังสือบอกกล่าวหรือไม่