เคล็ดลับการเข้าสังคมของลูกแมวกับผู้คนและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

Published by
ระยะเวลาที่ใช้ในการอ่าน

Kitten with owner image
คุณต้องการให้ลูกแมวของคุณเป็นแมวที่เข้ากับผู้คนได้เป็นอย่างดีและเป็นทั้งเพื่อนและสหายเดินทาง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ คุณต้องจำไว้ว่าแมวมีช่วงเวลาการเข้าสังคมที่สั้นมากๆ ดังนั้นในช่วง 4 - 16 สัปดาห์แรกของชีวิตเจ้าเหมียวถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับการพัฒนาพฤติกรรมและสังคม

ประสบการณ์แรกเริ่มของลูกแมว

ก่อนที่ลูกแมวของคุณจะเข้ามาใช้ชีวิตกับคุณ เจ้าเหมียวได้โต้ตอบกับแม่แมวของตัวเอง ลูกแมวตัวอื่นๆ ในกระบะของตัวเอง และบางทีอาจจะโต้ตอบกับผู้คนมากมายด้วย

ระมัดระวังในการเลือกลูกแมวที่ไม่ค่อยได้สัมผัสกับมนุษย์ เช่น ลูกแมวที่ถูกเลี้ยงในกรงหรือคอกที่อยู่ห่างไกลบ้าน ลูกแมวจำเป็นต้องทำความคุ้นเคยกับการให้คนดูแลตั้งแต่ยังเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้คนมากมาย เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะยอมรับผู้ดูแลหลายคนได้ เหล่าเจ้าเหมียวยังต้องทำความคุ้นเคยกับสถานที่ กลิ่น และเสียงในชีวิตประจำวัน

ลูกแมวของคุณอาจย้ายเข้ามาอยู่บ้านของคุณเมื่ออายุได้ประมาณ 8 - 12 สัปดาห์ สมมติว่าเจ้าเหมียวได้สัมผัสกับมนุษย์มามากมาย จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณเลยที่จะยกระดับการพัฒนาที่ดีทั้งหมดและช่วยให้เจ้าเหมียวเติบโตขึ้นเป็นแมวที่เป็นมิตร มีความสุขและมั่นใจ

เมื่อลูกแมวของคุณมาถึงบ้านของคุณครั้งแรก โปรดจำไว้ว่าอาจเป็นความรู้สึกที่มากล้นเกินไปนิดหน่อยสำหรับเจ้าเหมียว ให้พาเจ้าเหมียวไปยังสถานที่เงียบสงบปลอดภัย และพาเจ้าเหมียวไปดูจุดวางชามอาหารและกระบะทราย มอบความรักและความมั่นใจกับเจ้าเหมียวให้มากๆ และลูบเขาอย่างอ่อนโยน พูดคุยกับเขาด้วยน้ำเสียงที่สงบและอ่อนโยน นอกจากนี้การเล่นยังถือเป็นวิธีที่ดีที่จะสังสรรค์กับลูกแมวของคุณ และจะสร้างความผูกพันในความสัมพันธ์ของคุณกับเจ้าเหมียวได้ตั้งแต่แรก

เด็กและลูกแมว

ลูกแมวควรเข้าสังคมกับเด็กให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเจ้าเหมียวอาจปฏิเสธหรือกัดเด็กๆ ได้หากเจ้าเหมียวไม่คุ้นเคยกับเด็กๆ ตั้งแต่แรก

หากคุณมีเด็ก โดยธรรมชาติแล้วพวกเด็กๆ จะตื่นเต้นเป็นอย่างมากเมื่อลูกแมวตัวใหม่มาถึงบ้าน หน้าที่ของคุณคือการสอนเด็กๆ ว่าลูกแมวไม่ใช่ของเล่นและต้องได้รับการดูแลอย่างระมัดระวัง เวลาเล่นควรสิ้นสุดลงเมื่อลูกแมวเล่นมากพอแล้ว และควรเตือนเด็กๆ ว่าลูกแมวอาจข่วนหรือขบกัดเล่นๆ ได้

ลูกแมวและผู้คนอื่นๆ

ลูกแมวควรได้รับโอกาสในการพบเจอกับผู้คนที่มีรูปร่างและขนาดตัวแตกต่างกันไป ให้เจ้าเหมียวคุ้นเคยกับคนแปลกหน้า แต่ควรระมัดระวังด้วยว่าผู้คนเหล่านั้นไม่ได้ทำให้แมวกลัวหรือแสดงความรักที่มากเกินไปกับลูกแมว

การแนะนำให้ลูกแมวอายุน้อยรู้จักกับผู้คนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั้นถือเป็นความคิดที่ดี วิธีนี้คุณจะหลีกเลี่ยงความกลัวคนแปลกหน้าในอนาคตของเจ้าเหมียวได้

อย่าลืมว่าลูกแมวสามารถเหนื่อยได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นโปรดแน่ใจว่าระยะเวลาการพบปะกับผู้คนใหม่ๆ นั้นไม่นานจนเกินไปเพื่อให้เวลาลูกแมวได้พักผ่อนบ้าง

การแนะนำลูกแมวกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ในบ้าน

ก่อนที่จะแนะนำลูกแมวตัวใหม่กับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ในบ้านของคุณ ให้คุณพาสัตว์เลี้ยงทุกตัวไปพบสัตวแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงทุกตัวสุขภาพดีและได้รับการฉีดวัคซีนล่าสุดแล้ว

การดมกลิ่นเป็นความรู้สึกที่สำคัญที่สุดสำหรับแมว ดังนั้นการถ่ายโอนบางกลิ่นของบ้านคุณไปยังผ้าคลุมสำหรับลูกแมวตัวใหม่ก่อนการนำลูกแมวเข้าบ้านถือเป็นความคิดที่ดี ผสมผสานกลิ่นโดยการลูบแมวเจ้าถิ่นตัวแรกของคุณ จากนั้นค่อยลูบลูกแมวโดยไม่ต้องล้างมือและทำแบบนี้สลับกัน

ค่อยๆ แนะนำลูกแมวตัวใหม่กับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ทีละตัว การปล่อยให้ลูกแมวตัวใหม่อยู่ในกรงหรืออยู่หลังประตูเด็กที่สามารถยืดได้ถือเป็นความคิดที่ดีในการควบคุมการพบเจอครั้งแรก

ในช่วงระหว่างแนะนำตัว ให้แยกสัตว์เลี้ยงออกจากกันหากมีสัญญาณความก้าวร้าว การยอมรับอาจใช้เวลา ดังนั้นอย่าปล่อยลูกแมวตัวใหม่ทิ้งไว้กับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ของคุณโดยไม่มีการควบคุมดูแลจนกว่าคุณจะแน่ใจว่าพวกเขาเข้ากันได้ดีแล้ว เก็บสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กอย่างหนูแฮมสเตอร์ ปลาและนกในที่ปลอดภัยที่แมวเอื้อมไม่ถึงเสมอ

ความวิตกกังวลจากการพลัดพราก

ข่าวดีคือคุณทำได้ดีแล้วในการเลี้ยงดูให้ลูกแมวเข้ากันได้ดีกับผู้คน ข่าวร้ายคือตอนนี้เจ้าเหมียวจะติดคุณมากและไม่ชอบเวลาที่คุณไม่อยู่

การวิตกกังวลจากการพลัดพรากซึ่งก่อนหน้านี้พบเห็นได้ในสุนัข แต่ตอนนี้มีการยอมรับแล้วว่าเกิดขึ้นในแมวด้วย สัญญาณที่บอกว่าลูกแมวของคุณอาจทุกข์ทรมานด้วยความวิตกกังวลจากการพลัดพรากรวมถึงความเครียดเวลาที่คุณไม่อยู่ด้วย เจ้าเหมียวอาจส่งเสียงร้องมากเกินไปหรืออาจทำให้บ้านเลอะเทอะเวลาคุณไม่อยู่

เคล็ดลับในการจัดการกับความวิตกกังวลจากการพลัดพรากคือ จำกัดเวลาที่คุณต้องทิ้งลูกแมวของคุณให้อยู่ตัวเดียวให้ได้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ และพยายามอย่าทำให้การออกจากบ้าน “เป็นเรื่องใหญ่” หากลูกแมวของคุณทำให้บ้านเลอะเทอะ อย่าลงโทษเขา แมวไม่เข้าใจการลงโทษ และเนื่องจากพฤติกรรมของเจ้าเหมียวเป็นผลมาจากความเครียด คุณจะทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแย่ลงแทน

คุณสามารถสอนลูกแมวให้อดทนกับการที่คุณไม่อยู่บ้านเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ได้ง่ายๆ โดยการปล่อยลูกแมวอยู่ลำพังในห้อง ปิดประตูและเดินออกไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลังจากนั้นสองถึงสามนาที ให้กลับเข้าไปในห้อง แต่ไม่ต้องทักทายเจ้าเหมียว เมื่อคุณทำแบบนี้หลายๆ ครั้งแล้ว ให้เพิ่มเวลาที่คุณไม่อยู่เป็น 30 นาที แต่หากเจ้าเหมียวเริ่มดูเครียดและเริ่มร้องครวญครางหรือข่วนที่ประตู คุณควรลดระยะเวลาที่คุณไม่อยู่ให้สั้นลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • การอุปการะแมวโต: สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้

    เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการอุปการะแมวโตจากศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงกับการรับแมวทั่วไปมาเลี้ยง และวิธีการเตรียมตัวเมื่อคุณนำแมวมาที่บ้านเป็นครั้งแรก
  • หาลูกแมวตัวใหม่ ที่ไหนดี

    มีสถานที่หลายแห่งสำหรับรับลูกแมวมาเลี้ยง เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นหาลูกแมวเพื่อรับเลี้ยงที่ศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญด้านการผสมพันธุ์สัตว์ องค์กรกู้ภัย หรือดูตามหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  • Six Ways to Socialize Your New Cat

    Socializing a cat into a new home takes patience and love. Discover these cat socialization tips to help an adopted cat adjust to her family.
  • Cat Personalities: Considerstions for Your Lifestyle

    Learn important things to look for when getting a cat, such as age, hair length, and which cat breed personalities will suit your lifestyle best.

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง