แมวเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่?
โคโรน่าไวรัสคืออะไร?
เจ้าของสัตว์เลี้ยงอาจจะมีความกังวลว่าสัตว์เลี้ยงจะติด COVID-19 ได้ จากการแพร่เชื้อจากเจ้าของไปสู่สัตว์เลี้ยง ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าสุนัข แมว อาหาร หรือบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารเป็นต้นเหตุที่ทำให้มนุษย์หรือสัตว์ติดเชื้อ แต่สถานการณ์ COVID-19 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
จนถึงวันนี้ องค์กร U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ยังไม่พบรายงานว่าสัตว์ในประเทศสหรัฐอเมริกาติดไวรัสชนิดนี้ และยังไม่พบการติดเชื้อหรือแพร่กระจายจากสุนัขและสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ไปสู่มนุษย์ แต่ถ้าหากคุณยังมีข้อกังวลอยู่ โปรดปรึกษาสัตวแพทย์
ติดต่อกันระหว่างคนเเละสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่
ถ้าคุณเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปว่าสัตว์เลี้ยงของคุณจะติดหวัดจากคุณ มีรายงานจาก Smithsonian Magazine ว่าแมวที่เลี้ยงในบ้านติดไวรัส H1N1 จากเจ้าของ และแมวอาจจะแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้ อย่างไรก็ตามกรณีนี้พบได้น้อยมาก แต่มนุษย์สามารถติดเชื้อโรคจากสัตว์ได้ตามที่ในปี 2009 เกิดการระบาดของไวรัส H1N1 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Swine Flu ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดจากมนุษย์ติดเชื้อโรคจากหมู
ธรรมชาติของไวรัส
แมวสามารถติดหวัดได้ เนื่องจากเกิดการติดไวรัส 2 ชนิดในทางเดินหายใจส่วนบน นั่นก็คือ feline herpesvirus หรือ feline calicivirus แมวทุกช่วงอายุมีความเสี่ยงในการติด แต่ลูกแมวและแมวสูงอายุมีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอาจจะยังไม่แข็งแรงเท่าแมวโตเต็มวัย
VCA Animal Hospital อธิบายว่า แมวติดไวรัสได้จากการสัมผัสแมวที่ป่วยด้วยกันเอง หรือ รับการแพร่เชื้อที่มาจากอนุภาคที่ลอยมากับอากาศ ไวรัสอาจจะออกมากับน้ำลายหรือสารคัดหลั่งจากดวงตาและจมูกของแมวที่ติดเชื้อ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการที่ต้องจะแยกแมวป่วยออกจากแมวตัวอื่นๆ
Love That Pet กล่าวว่า ถ้าแมวของคุณติดหวัดหรือติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสจะยังคงอยู่รอบๆ ตัวแมว ถึงแม้ว่าเค้าจะหายจากอาการหวัดแล้วก็จะยังสามารถเป็นพาหะนำโรคได้ชั่วคราวหรือยาวนานกว่านั้น ถึงแม้ว่าเค้าจะไม่มีอาการป่วยแล้ว ก็อาจจะมีสารคัดหลั่งที่มีไวรัสออกมาปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมรอบๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดตามอาการของแมวที่ป่วยอย่างใกล้ชิด
ถ้าคุณสงสัยว่าแมวของคุณจะติดหวัด แมวที่เป็นหวัดจะมีอาการดังต่อไปนี้ :
- เซื่องซึม
- ไอ
- จาม
- น้ำมูกไหล
- เป็นไข้
- ความอยากอาหาร/น้ำลดลง
- น้ำมูกและ/หรือน้ำตาไหล
- หายใจลำบาก
หากแมวของคุณมีอาการดังกล่าว โปรดพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคโดยละเอียด
การรักษาและการป้องกัน
พาแมวไปฉีดวัคซีนตามโปรเเกรม เพื่อให้แมวของคุณสุขภาพดีและช่วยป้องกันการเจ็บป่วย อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยกำจัดเชื้อโรค คือ ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ (และขอให้สมาชิกในบ้านทำเช่นกัน) ทำความสะอาดบริเวณที่ติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น เตียง เสื้อผ้า ผ้าขนหนู และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนและสัตว์ป่วย
สัตว์สามารถติดโรคจากสัตว์ด้วยกันเอง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแยกแมวป่วยออกจากแมวที่ไม่ป่วย ดังนั้น จึงต้องแยกน้ำและอาหาร เนื่องจากเชื้อโรคจะปนเปื้อนมากับน้ำมูกและน้ำตาของสัตว์ที่ป่วย
เวปไซด์ PetMD กล่าวว่าถ้าคุณสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงของคุณจะเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ โปรดพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยทันที การรักษาไข้หวัดใหญ่ทำได้โดยการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น วิธีการดูแลสัตว์ป่วยคือทำความสะอาดตาและจมูกของสัตว์อยู่เสมอ และชะล้างสารคัดหลั่งต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นให้มากที่สุด และให้สัตว์กินยาปฏิชีวนะและอาหารเหลวเพื่อป้องการกันขาดน้ำ ซึ่งสัตวแพทย์จะเป็นผู้จ่ายยาและแนะนำวิธีการรักษา
ในระหว่างการพักฟื้น สัตว์เลี้ยงของคุณจะต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ และมันก็ใส่ใจคุณเป็นพิเศษเช่นเดียวกันเมื่อคุณป่วย แต่ก็อาจจะเป็นเรื่องยากถ้าคุณเองก็ป่วย เราอยากให้คุณพักผ่อนให้หายดีแล้วเมื่อคุณและสัตว์เลี้ยงกลับมาสุขภาพดีแล้ว เราก็จะสามารถกลับมาอยู่ใกล้กันได้อย่างสบายใจอีกครั้ง
Contributor Bio
Christine O'Brien
Christine O'Brien เป็นนักเขียนที่เป็นทั้งคุณแม่และเจ้าของแมว Russian Blues 2 ตัว เธอเขียนบทความใน Care.com ในคอลัมน์ What To Expect และ Fit Pregnancy เกี่ยวกับชีวิตครอบครัว สัตว์เลี้ยงและการตั้งครรภ์ ค้นหาผลงานของเธอได้ทาง Instagram และ Twitter @brovelliobrien