ข้าวโพดไม่ดีต่อสัตว์เลี้ยงใช่หรือไม่?

เมื่อคุณคิดถึงคาร์โบไฮเดรต ห้องวิจัยทางวิทยาศาสตร์อาจจะไม่ใช่สิ่งแรกที่คุณนึกถึง สิ่งแรกที่คุณจะคิดคือ "ช่วยให้อยู่ท้องแต่ไม่ดี" -- คุณอาจจะนึกถึงคาร์โบไฮเดรตเหมือนกับที่คุณนึกถึงไขมันหรือน้ำตาล และอาจพบว่าข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่ไม่ตรงกัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะรู้ถึงความต้องการของสัตว์เลี้ยงโดยไม่เข้าใจถึงหลักวิทยาศาสตร์ที่อธิบายเรื่องโภชนาการที่เหมาะสม -- กับทั้งคนและสัตว์เลี้ยง

 

ถึงแม้คาร์โบไฮเดรตจะถูกมองในด้านไม่ดีซักเท่าไหร่ หลักวิทยาศาสตร์บอกว่าคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ และมีความสำคัญในการทำให้อาหารสัตว์มีสารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล ธัญพืชที่มีประโยชน์อย่างเช่น โอ๊ต ข้าว บาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวฟ่างข้าวโพด มันฝรั่ง และถั่ว ช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีพลังงานตามที่ต้องการ เพื่อให้โปรตีนในร่างกาย (อย่างเช่นกล้ามเนื้อ) ไม่สึกหรอ นอกจากนี้ ข้าวโพดที่บดและปรุงสุกแล้ว ยังย่อยง่ายสำหรับสุนัขและแมวอีกด้วย1

คาร์โบไฮเดรตยังเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหารอีกด้วย ช่วยสร้างสมดุลให้กับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหาร และช่วยจัดการกับภาวะน้ำหนักเกิน เบาหวาน ท้องเสีย ท้องผูกและก้อนขนในแมวอีกด้วย2

ยังมีความเข้าใจผิดที่เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตว่าทำให้สัตว์เลี้ยงอ้วน ในความเป็นจริงแล้ว มีหลากหลายสาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงน้ำหนักเกิน :

  • ไม่ชอบเคลื่อนไหว
  • ทำหมัน
  • กินอาหารหรือขนมที่มากเกินไป
  • กินอาหารที่มีแคลอรี่สูงเกินไป หรือ มีไขมันมากเกินไป

ที่ Hill's เราคิดค้นจากผลวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร สัตวแพทย์และนักโภชนาการระดับดุษฎีบัณฑิตกว่า 200 คน ซึ่งพบว่าคาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อโภชนาการของสัตว์เลี้ยงอย่างมากมาย เช่น ให้พลังงาน รักษามวลกล้ามเนื้อ ลำไส้ที่มีสุขภาพดี เป็นต้น

คาร์โบไฮเดรตมีประโยชน์อย่างไรกับโภชนาการของสัตว์เลี้ยงของคุณ?

  • เป็นแหล่งพลังงานที่มีประโยชน์สูง
  • มีไฟเบอร์ วิตามิน แร่ธาตุ กรดไขมันและโปรตีนด้วย
  • ปกป้องกล้ามเนื้อโดยเฉพาะในแมว
  1. Meyer H, Kienzle E. Dietary protein and carbohydrates: Relationship to clinical disease. In: Proceedings. Purina International Nutrition Symposium, Orlando, FL, 1991: 13-26.
  2. SACN 5, Periodontal Disease, Chapter 47
  3. Slingerland LI, Fazilova VV, Plantinga EA, et al. Indoor confinement and physical inactivity rather than the proportion of dry food are risk factors in the development of feline type 2 diabetes mellitus. Vet J 2009;179:247-253.